กิจกรรมการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงานด้านเด็กเยาวชนและครอบครัว

1.การคุ้มครองและการช่วยเหลือเด็กและเยาวชน

  • Case ได้รับการช่วยเหลือ

           # ทำให้เด็กมีความสุข (ไม่เก็บตัว,สดใสร่างเริง,ดูแลความสะอาดตัวเอง,เข้าสังคม,มีรอยยิ้ม)

           # ครอบครัวมีความสุข(มีที่นอนใหม่,มีรอยยิ้ม,เข้าสังคม,สุขภาพ กายและใจดีขึ้น)

           ตำบลแม่กา       เด็กที่ได้รับการคัดกรอง                            จำนวน 1,477 คน

                                   เด็กที่ได้รับบริการเยี่ยมบ้าน/ให้คำปรึกษา   จำนวน  142 คน

                                   เด็กที่ได้รับการช่วยเหลือ/ส่งต่อบริการ       จำนวน  16 คน

          ตำบลบ้านสาง   เด็กที่ได้รับการคัดกรอง                             จำนวน  450 คน

                                   เด็กที่ได้รับบริการเยี่ยมบ้าน/ให้คำปรึกษา   จำนวน  47 คน

                                   เด็กที่ได้รับการช่วยเหลือ/ส่งต่อบริการ       จำนวน  40 คน

          ตำบลห้วยลาน   เด็กที่ได้รับการคัดกรอง                             จำนวน  618 คน

                                   เด็กที่ได้รับบริการเยี่ยมบ้าน/ให้คำปรึกษา   จำนวน  248 คน

                                   เด็กที่ได้รับการช่วยเหลือ/ส่งต่อบริการ       จำนวน  215 คน

         ตำบลหนองหล่ม เด็กที่ได้รับการคัดกรอง                              จำนวน  213 คน

                                   เด็กที่ได้รับบริการเยี่ยมบ้าน/ให้คำปรึกษา    จำนวน  155 คน

                                   เด็กที่ได้รับการช่วยเหลือ/ส่งต่อบริการ       จำนวน  129 คน

2.การพัฒนาศักยภาพเด็กเยาวชน

จำนวนการเข้าถึงการจัดกิจกรรมเด็กและเยาวชน จำนวน 2,071 คน

  • ศักยภาพของเด็กเยาวชนที่สามารถมีความเป็นนำ และการสร้างสรรค์กิจกรรมให้กับชุมชนอย่างมีส่วนร่วม (เห็นคุณค่าตนเอง,คุณค่าต่อสังคม,ทักษะชีวิตและผู้จัดกระบวนการ)

  • มีศูนย์บริการที่เป็นมิตรสำหรับเยาวชนและการสื่อสารจะผ่าน Facebook : Sex Talk Room โดยเพจของกลุ่มเยาวชนแกนนำเยาวชนเกิดเครือข่ายการทำงานของจังหวัด

  • เปิดโอกาสและสร้างการส่วนร่วมของแกนนำเด็ก โดยดึงสภาเด็กฯเข้ามาร่วม เช่น การเก็บขยะขายหาเงินมาช่วยน้อง จนมีรายการทีวีช่อง 3 มาถ่ายทำ กิจกรรมพี่สอนน้อง ทำความสะอาดบ้านผู้สูงอายุ  โดยใช้กองทุน สปสช.

3.การพัฒนาครอบครัว (โรงเรียนครอบครัว)

จำนวนการเข้าถึงการจัดกิจกรรมเด็กและเยาวชน จำนวน 2,483 คน

  • ผู้ปกครองเข้าใจ/สามารถสื่อสาร มีทักษะที่จำเป็น เช่น การฟัง ,การพูด,พฤติกรรมตามวัย,พัฒนาการและการเลี้ยงดูตามวิชาครอบครัว (วิชาชีพ,วิชาชีวิต,วิชาชุมชนและวิชาการ)

  • มีการเยี่ยมเยือนบ้าน ติดตามประเมินผล

  • มีการแลกเปลี่ยนระหว่างครอบครัว

4.การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน

  • ผู้บริหาร จนท.ที่เกี่ยวข้อง เช่น อปท. นายก เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ เกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายการศึกษา ฝ่ายพัฒน์ ผอ.รพสต. ได้ให้การสนับสนุนการทำงานด้านเด็กเยาวชน

  • การได้รู้มูลที่ลึก ที่ชัดเจน จะทำให้ท้องถิ่นและคณะทำงานได้ให้เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน(วิเคราะห์,ลงเยี่ยมบ้าน,การช่วยเหลือ)

  • คณะทำงานจริงใจ จริงจัง เคารพความคิดและการตัดสินใจซึ่งกันและกัน มีการทำงานเป็นทีม รู้การเชื่อมงานกับองค์กร ต้องมีการพบปะและแลกเปลี่ยนกันต่อเนื่อง เชื่อมคน เชื่อมงาน เชื่อมข้อมูล (ประชุม,line)

  • ระดมทุนในพื้นที่จากประเพณีตาน ต่อ ,บิณฑบาต,ออมวันละบาท,จัดทำผ้าป่า,ตู้บริจาค,บริจาคจากงานศพมอบให้กองทุนสาธารณประโยชน์ เพื่อช่วยเหลือเด็กเปราะบาง

5.การเชื่อมการทำงานภาคีเครือข่ายจังหวัด

  • ชักชวนหน่วยงานภาคี(พมจ.,บ้านพักเด็ก,ครู รร.ศึกษาพิเศษ,รพ.) โดยกลไกที่มีอยู่องค์กรภายนอก ลงในพื้นที่

  • สำนักงานบ้านพักเด็ก เข้าเชื่อมการดำเนินงานในด้านคุ้มครองเด็ก ให้เป็นตำบลนำร่องของการทำงาน

  • เป็นคณะวิทยากรด้านครอบครัวจังหวัดโดย ผู้ว่าราชการแต่งตั้ง

สงวนลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2566 มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา | Copyright © 2023, All rights reserved. Phayao Development Foundation (PDF), Thailand.