นักวิชาการหวั่น ดีลควบรวม ‘ทรู-ดีแทค’ กระทบนวัตกรรมเศรษฐกิจดิจิทัล บีบทางเลือกผู้บริโภค

ในขณะที่การควบรวม ทรู – ดีแทค ระหว่าง บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอม มูนิเคชั่น (ดีแทค) กับ บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด กำลังดำเนินไปหลังจากมีการประกาศควบรวมเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา นักวิชาการ กรรมการ กสทช. และ เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่า การควบรวมครั้งนี้ จะทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกลดลง ทำให้ตลาดกระจุกตัวมากขึ้น นวัตกรรม และสตาร์ทอัพต่างๆ มีทางเลือกน้อยลงด้วย ซึ่งส่งผลลบต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล แม้จะมีการใช้ข้ออ้างเรื่องการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันของสองบริษัทก็อาจเป็นจริงได้ยาก และการควบรวมครั้งนี้ อาจนำไปสู่การผูกขาดและการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม

นำมาถึงข้อสรุปเวทีเสวนาออนไลน์ ในหัวข้อ “ดีล True – Dtac ต้องโปร่งใส กสทช. ต้องรับฟังผู้บริโภค” ว่า องค์กรกำกับดูแลที่มีอำนาจควบคุมดูแลกรณีการผูกขาด คือ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค. ) จะต้องใช้กลไกทางกฏหมายอย่างเข้มข้นเพื่อป้องการการผูกขาดในกิจการนี้ทที่มีผลกระทบต่อผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ : https://bit.ly/3LL5smr

ที่มา: สภาองค์กรของผู้บริโภค

สงวนลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2566 มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา | Copyright © 2023, All rights reserved. Phayao Development Foundation (PDF), Thailand.