บทเรียนและวิธีแก้ไขปัญหา…ซื้ออาหารมารับประทานแล้วสินค้าไม่มีคุณภาพและความปลอดภัย

          การดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบันที่มีความรีบเร่งในการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้หลายคนต้องอาศัยการหาอาหารเช้าที่สะดวกและให้คุณประโยชน์อันใดแก่ร่างกายเราเท่านั้น จึงมีผลิตภัณฑ์สินค้าในรูปแบบต่าง ๆ ออกมาจำหน่ายเพื่อตอบสนองความต้องการตามร้านค้าที่เป็นที่นิยมของคนที่เข้ามาใช้บริหาร

          คุณรุ   เป็นคนทำงานอีกคนหนึ่ง  ที่ทุกเช้าจะต้องแวะซื้ออาหารเพื่อนำไปรับประทานที่สำนักงานก่อนเริ่มงาน  และเช้าวันนี้ก็เช่นเดียวกันได้แวะซื้อโจ๊กข้าวกึ่งสำเร็จรูปรสเห็ด เพื่อมารับประทานที่ทำงาน  และเมื่อมาถึงที่ทำงานได้มีการแกะโจ๊กเพื่อนำเอานำร้อนมาเติมผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสิ่งแรกที่พบคือในกล่องไม่มีช้อนแถมมา และเมื่อเติมน้ำร้อนลงไปและปิดฝากลับพบว่า บริเวณรอบฝามีกาว 2 หน้าและเทปใสติดอยู่โดยรอบ เหมือนลักษณะมีการแกะผลิตภัณฑ์และนำมาปิดคืน  รวมทั้งรอบถ้วยโจ๊กเองมีรอยเปื้อนสีดำเหมือนมีการสัมผัสโดนด้านในถ้วย   ผู้ร้องจึงแจ้งเพื่อขอให้ศูนย์ขอคำปรึกษาและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวดำเนินการ

 

แนวทางการแก้ไขปัญหาที่จัดการ

เมื่อพบความผิดปกติเกี่ยวกับอาหารในบรรจุภัณฑ์สำเร็จรูปให้ดำเนินการถ่ายรูปผลิตภัณฑ์และใบเสร็จเอาไว้เป็นหลักฐาน  และเสนอให้กลับไปร้านอีกครั้งเพื่อไปตรวจสอบสินค้าที่เหลือและแจ้งกับร้านค้า  หากพบว่ามีกรณีเหมือนกันร้านต้องเอาสินค้ามาตรวจสอบและเก็บหากยังไม่ปฏิบัติตาม  จะแจ้งเรื่องที่ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   ผู้ร้องได้ดำเนินการตามคำและนำ โดยนำผลิตภัณฑ์ไปที่ร้านและแจ้งกับทางร้าน  ซึ่งพนักงานได้รับทราบและนำสินค้ามาเปลี่ยนให้   โดยจะพบว่าที่ชั้นโชว์จะมีผลิตภัณฑ์แบบนี้วางผสมกับอันที่ดีอยู่  ผู้ร้องเลยเสนอให้พนักงานแยกสินค้าที่มีปัญหาออก  หรือหากต้องการจำหน่ายก็ควรเขียนป้ายว่าสินค้ามีตำหนิลดราคา หากผู้บริโภครับได้และซื้ออันนี้แล้วแต่สิทธิของผู้บริโภคแต่ละรายไป   พร้อมทั้งประเด็นดังกล่าวผู้ร้องได้นำเอาเรื่องเข้าไปแจ้งทาง Line บริษัทเพื่อดำเนินการแก้ไขระบบและการจัดการสินค้าเพื่อให้มีคุณภาพและปลอดภัย

หากพบว่าเกิดปัญหาในลักษณะอาหารหมดอายุ พบเจอสิ่งปนเปื้อนในอาหาร สามารถแก้ไขปัญหา ดังต่อไปนี้

แนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหา

1.ตรวจสอบข้อเท็จจริง

2.ค้นหาคู่กรณี

3.เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  • หลักฐานการซื้อสินค้า , ใบเสร็จรับเงิน , ตัวสินค้าที่ซื้อมาแล้วมีปัญหา

  • ถ้ามีอาการปวดท้องต้องไปพบแพทย์ ใบรับรองแพทย์, ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น

4.กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551

  • พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522

  • พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522

  • พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551

5.ความเสียหาย , มูลค่าความเสียหาย

  • ความเสียหายที่เกิดจากมูลค่าสินค้าที่ซื้อไป

  • หากมีอาหารท้องเสีย ต้องมีค่าหาแพทย์ตรวจอาการ ค่าพาหนะไปพบแพทย์ และค่าเสียหายอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล

  • ความเสียหายตามบทลงโทษ บทเทียบปรับตามกฎหมาย ถือเป็นมูลค่าความเสียหายได้

6.กระบวนการและวิธีแก้ไขปัญหา

  • ถ่ายรูปตัวสินค้าพร้อมเก็บบรรจุภัณฑ์ของสินค้าและใบเสร็จจากร้านที่ซื้อไว้เป็นหลักฐาน (ให้ถ่ายสำเนาใบเสร็จเก็บไว้ด้วย)

  • นำหลักฐานทั้งหมดแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษที่สถานีตำรวจท้องที่ เพื่อเป็นหลักฐาน

  • ให้ติดต่อแหล่งจำหน่ายอาหารที่ซื้อมา ซึ่งต้องคิดให้ดี ว่าเราต้องการให้เขาดำเนินการอย่างไร เพื่อแก้ไขปัญหา พร้อมชดเชยเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น

  • ขอเปลี่ยนสินค้า

  • ขอเงินคืน

  • จ่ายค่าเสียเวลา ค่าขาดประโยชน์ และค่าใช้จ่ายในการติดต่อกับผู้ประกอบการ

  • ให้ทำหนังสือชี้แจงและขอโทษต่อผู้เสียหายและสาธารณะ เป็นต้น

  • หากไม่สามารถตกลงกันได้ ให้ทำหนังสือยื่นกับผู้ประกอบการ สรุปปัญหาที่พบ พร้อมข้อเรียกร้อง โดยส่งถึงกรรมการผู้จัดการหรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า

  • สำคัญที่สุด ต้องเก็บใบรับเงินทุกครั้งที่มีการซื้อ เพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันการซื้อและระบุ ตนเป็นผู้เสียหาย ส่วนในกรณีที่ไม่มีใบสำคัญรับเงินเป็นหลักฐาน สิ่งที่สามารถเรียกร้องได้โดยทั่วไปคือการเปลี่ยนสินค้าชิ้นใหม่ ทั้งนี้ ขึ้นกับการต่อรองกับผู้ขายและต้องดำเนินการทันที

  • หากไม่สามารถตกลงกันได้ก็สามารถใช้กระบวนการฟ้องร้องต่อศาล โดยใช้กฎหมายช่วยฟ้องหรือ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ในการดำเนินการฟ้องได้ ข้อดีของการฟ้องด้วยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551

  • ฟ้องได้ด้วยตัวเองไม่ต้องใช้ทนายความ

  • ไม่เสียค่าธรรมเนียมศาล

  • มีเจ้าพนักงานคดีของศาล ช่วยเป็นที่ปรึกษาและจัดทำคำฟ้อง

  • ระยะเวลารวดเร็ว เพียงสองศาลเท่านั้น

  • ไปศาลที่อยู่ในเขตอำนาของที่เกิดเหตุความเสียหาย หรือศาลที่อยู่ในเขตที่ตั้งของผู้ผลิต

 

พวงทอง ว่องไว

ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดพะเยา มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา

(อ้างอิง : คู่มือคนทำงานรับเรื่องร้องเรียนแก้ไขปัญหาร้องเรียนอย่างไรให้ได้ผล)

สงวนลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2566 มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา | Copyright © 2023, All rights reserved. Phayao Development Foundation (PDF), Thailand.