วงเสวนา ‘เปิดปมสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียว ประชาชนได้หรือเสีย?’ ค้านรัฐต่อสัมปทาน หวั่นกระทบผู้บริโภคขึ้นรถไฟฟ้าแพง 30 ปี

 

เวทีเสวนา สภาองค์กรของผู้บริโภค ‘เปิดปมสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียว ประชาชนได้หรือเสีย?’ ค้านรัฐต่อสัมปทานสายสีเขียว หวั่นกระทบผู้บริโภคขึ้นรถไฟฟ้าแพง 30 ปี

“ครม. ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า หนี้โครงสร้างก้อนนี้ 60,000 ล้านบาทเป็นของใคร และกทม. ได้ดำเนินการครบถ้วนตามกฎหมาย ตามระเบียบพัสดุ และได้ผ่านความเห็นชอบจากสภา กทม. หรือไม่ เพราะตามระเบียบแล้ว หากไม่ได้นำเรื่องเข้าสภา กทม. กทม. ก็จะไม่สามารถรับภาระหนี้ได้ และกรรมสิทธิ์ก็ยังต้องเป็นของ รฟม. อยู่” — ดร.สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคภูมิใจไทย

“ที่ผ่านมีประเด็นที่เกี่ยวกับข้องกับรถไฟฟ้าเกิดขึ้นเยอะมาก ทั้งเรื่องหนี้ เรื่องการยกเลิกตั๋วเดือน จนทำให้ตีความไปได้ว่าอาจมี การร่วมกันสร้างสถานการณ์บางอย่าง เพื่อเอาประชาชนมาเป็นตัวประกัน และหาก ครม. มีมติเห็นชอบในเรื่องดังกล่าว พรรคเพื่อไทยจะยื่นฟ้องร้องต่อศาล และยื่นเรื่องถึง ป.ป.ช. แน่นอน” — ชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย

“ผมมองว่าการต่อสัญญาสัมปทานในครั้งนี้มีอะไรที่ซุกไว้เยอะ เพราะที่ผ่านมากระบวนการพิจารณาไม่โปร่งใส ตรวจสอบไม่ได้ ทุกอย่างปิดเป็นความลับทั้งหมด เหมือนมีการปักธงไว้ก่อน ทั้งนี้ทั้งนั้น คิดว่าควรยกเลิกคำสั่งตามมาตรา 44 ที่เกี่ยวกับเรื่องรถไฟฟ้า และเห็นด้วยกับกระทรวงคมนาคมที่ให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาใหม่ ภายใต้ พ.ร.บ.ร่วมทุน” — ดร.ประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย

“รัฐบาลไม่ควรนำเรื่องหนี้สิน 30,000 ล้านมาเป็นตัวประกันในการต่อสัญญา เพราะมีทางออกหลายทาง เช่นที่คมนาคมเสนอ การแก้สัญญา รัฐหางบประมาณสนับสนุนและการตั้งกองทุน ฯ ซึ่ง มีทางออกอย่างมากมาย เพียงแต่เราต้องดำเนินการทางกฎหมายให้ถูกต้องก่อน” รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ นักวิชาการจากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร

อ่านข่าวฉบับเต็มได้ที่ : https://bit.ly/3BE3Pm3

ที่มา: สภาองค์กรของผู้บริโภค

สงวนลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2566 มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา | Copyright © 2023, All rights reserved. Phayao Development Foundation (PDF), Thailand.