‘โซลาร์รูฟท็อป’ ทางออกวิกฤตโลกร้อน – ปัญหาค่าไฟแพง

 

ประเด็นหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากหลายประเทศทั่วโลก และเป็นกระแสบนโลกออนไลน์ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือกรณีที่รัฐบาลของประเทศอังกฤษอนุมัติให้สร้างโรงงานเชื้อเพลิงฟอสซิล นำไปสู่การประท้วงของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ในประเทศอังกฤษ และอีกหลายๆ ประเทศ เนื่องจากการสร้างโรงงานดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุให้ภาวะโลกร้อนนั้นรุนแรงขึ้น จนเกิดแฮชแท็ก #LetTheEarthBreath ขึ้น ทั้งนี้ ข้อมูลจากรายงานของ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ IPPC (Intergovernmental Panel on Climate Change) ระบุว่า เราต้องลดก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วนให้ได้ภายใน 3 – 5 ปี เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจรุนแรงจนถึงขั้นทำให้มนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ สูญพันธุ์

นอกจากปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมแล้ว อีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่คือ วิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลพวงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด – 19 เช่นเดียวกับประเทศไทย เรากำลังเผชิญหน้ากับวิกฤต ‘น้ำมันแพง’ ส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการ รวมถึงค่าไฟฟ้าแพงขึ้น เรียกง่ายๆ ว่า ‘แพงทั้งแผ่นดิน’ จึงทำให้ประชาชนแบกรับภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาอันสั้น

จากปัญหาที่กล่าวมา สภาองค์กรผู้บริโภค จึงร่วมกับ แนวร่วมเครือพลังงานทางเลือก และนักวิชาการ จึงเปิดเวทีเสนอมุมมอง “กองทุนแสงอาทิตย์เดินหน้า ปลดล็อกค่าไฟแพง” เพื่อเสนอแนวทางในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และลดค่าครองชีพประชาชน ด้วยการผลักดันให้เกิดการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ทั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของไทย ช่วยลดภาระหนี้ทั้งภาครัฐและประชาชน และมีส่วนกับประเทศทั่วโลกในการลดการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของโลก

“ผู้บริโภคทุกคนต้องมีสิทธิในการเข้าถึงพลังงานที่เป็นธรรม การส่งเสริมให้ใช้พลังงานโซลาร์เซลล์เพิ่มขึ้นในประเทศ จะช่วยลดการสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ๆ ที่หลายฝ่ายมองว่าอาจส่งผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้ ทั้งนี้ ความยั่งยืนด้านพลังงานจะเกิดขึ้นได้ ภาคประชาชนต้องเริ่มลงมือทำ และเมื่อเกิดกระแสความสำเร็จเพิ่มมากขึ้น ก็จะช่วยลดภาระค่าไฟ และขับเคลื่อนให้ประเทศก้าวสู่ความมั่นคงด้านพลังงานได้ ณ ปัจจุบันเชื่อว่าภาคประชาชนมีความพร้อมเพิ่มขึ้นมาก จึงอยากเรียกร้องให้ภาครัฐเร่งเข้ามาส่งเสริมสนับสนุนพร้อมวางแนวนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อประชาชนแอย่างแท้จริง” บุญยืน ศิริธรรม ประธานสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าว

ประธานสภาองค์กรของผู้บริโภคกล่าวเสริมว่า สภาองค์กรฯ ได้ติดตามประเด็นเรื่องความเป็นธรรมของผู้ใช้พลังงานมาโดยตลอด และต้องการผลักดันให้คนไทยสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้หารือกับกลุ่มนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และองค์กรแนวร่วมที่มีแนวทางเดียวกัน จัดตั้งกองทุนพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้น โดยเริ่มต้นจาการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ให้แก่โรงพยาบาล 7 แห่ง ต่อด้วยการดำเนินโครงการในสถานศึกษา พร้อมกับศึกษาเรียนรู้จากการดำเนินงานไปพร้อมกันในรูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อนำข้อมูลที่ได้เสนอเป็นแนวทางให้แก่ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการกำหนดแนวนโยบายด้านพลังงานของประเทศต่อไป

 

ด้าน ผศ.ประสาท มีแต้ม กรรมการกองทุนแสงอาทิตย์ ได้กล่าวถึงภาพรวมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในปัจจุบันว่า พลังงานแสงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกเพียง 8 นาทีนั้นเท่ากับพลังงานที่มนุษย์ทั้งโลกใช้ตลอดทั้งปี แสดงให้เห็นถึงปริมาณที่มหาศาลของพลังงานแสงอาทิตย์ ข้อมูลจากงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าเรากำลังเผชิญปัญหาโลกร้อนขึ้นในทุกๆ ปี หากไม่เร่งแก้ไขก็จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนบนโลกอย่างมาก ถึงเวลาแล้วที่มนุษย์ต้องตระหนักถึงวิกฤตที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งการหันมาส่งเสริมการใช้พลังงานโซลาร์เซลล์ทดแทนการใช้พลังงานฟอสซิล เป็นอีกหนึ่งทางที่จะลดวิกฤตดังกล่าวได้ ทั้งนี้ เชื่อว่าไม่มีพลังงานใดจะยิ่งใหญ่ไปกว่าพลังของชุมชน ที่ลุกขึ้นมาร่วมกันสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานให้เกิดขึ้นในชุมชน พร้อมทั้งนำแนวทางด้านการใช้พลังงานจากทั่วโลกมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม

“โลกของเรายังเหลือเวลาอีกเพียง 3 – 5 ปีที่จะยุติปัญหาคาร์บอนไดออกไซด์ล้นโลก ในหลายประเทศเริ่มมองเห็นปัญหาและวางแนวทางในการแก้ไขในระยะยาวไว้

อาทิ ประเทศเยอรมนี ซึ่งมีศักยภาพในการพึ่งตนเองด้านพลังงานน้อย จึงได้วางแผนระยะยาว 30 ปี เพื่อใช้พลังงานทดแทนจากโซลาร์เซลล์ ลม และมูลสัตว์ ณ วันนี้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จาก 3 สิ่งนี้มีมากถึงร้อยละ 50 ของพลังงานทั้งหมด และตั้งเป้าขยายให้ถึงร้อยละ 80 ภายในปีนี้ เช่นเดียวกับในประเทศอินเดีย ที่รัฐบาลมุ่งส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้พลังงานโซลาร์เซลล์โดยมอบเงินสมทบค่าติดตั้งให้ พร้อมทั้งรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตเหลือใช้กลับคืนด้วย ส่วนในประเทศออสเตรเลียรวมทั้งรัฐแคลิฟอร์เนียของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่หน่วยงานปกครองท้องถิ่นก็ส่งเสริมให้ประชาชนใช้พลังงานโซลาร์เซลล์เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน” ผศ.ประสาท ระบุ

กรรมการกองทุนแสงอาทิตย์ กล่าวต่ออีกว่า อยากเสนอให้รัฐบาลไทยนำแนวทางดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ พึ่งพลังงานที่เรามีอย่าพึ่งพลังงานที่ผูกขาด และต้องเร่งสร้างบุคลากรคุณภาพเพื่อรองรับการขยายตัวด้านพลังงานทางเลือก เพื่อสร้างความมั่นคงในการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานให้มีเสถียรภาพมากกว่าปัจจุบัน เพื่อลดผลกระทบต้นทุนค่าไฟที่ถูกส่งต่อมายังประชาชนดังเช่นปัจจุบัน

 

กรรณิการ์ แพแก้ว มูลนิธิภาคใต้สีเขียว เล่าว่า ปัจจุบันมูลนิธิฯ ได้ร่วมกับเครือข่ายคนกินแดด และภาคเอกชนในพื้นที่ พัฒนาเครือข่ายโซลาร์เซลล์ครบทั้ง 14 จังหวัดในภาคใต้ โดยประชาชนในพื้นที่มีการตื่นตัวอย่างมากและได้สร้างพื้นฐานความพร้อมในการร่วมกันพัฒนาแหล่งผลิตพลังงานจากระบบโซลาร์เซลล์ เพื่อใช้เป็นทางเลือกทดแทนแผนการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินและพลังงานชีวมวลที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่

“มูลนิธิฯ มองว่าการจะขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการใช้พลังงานโซลาร์เซลล์ ทุกส่วนของกระบวนการต้องมีความพร้อม เราเริ่มจากสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก้คนในพื้นที่แล้ว และต้องสร้างให้ภาคบริการระบบโซลาร์เซลล์มีความพร้อมด้วยเช่นกัน จึงได้เดินหน้าให้ความรู้แก่ช่างในพื้นที่ที่มีความสนใจพร้อมจัดฝึกอบรมและแจกคู่มือโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพื่อหวังพัฒนาระบบบริการให้ครบวงจรและแข็งแกร่งยิ่งขึ้น รวมถึงผลักดันให้เป็นธุรกิจที่เน้นคืนประโยชน์และองค์ความรู้ต่างๆ กลับสู่ชุมชน” กรรณิการ์ กล่าวถึงความร่วมมือของเครือข่ายพลังงานโซลาร์เซลล์ภาคใต้

 

ภานุมาศ คำร้อย ตัวแทนนักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคโคกสำโรง ได้นำเสนอมุมมองของคนรุ่นใหม่ต่อกระแสการใช้พลังงานโซลาร์ว่า จะเป็นอีกหนึ่งพลังงานหลักที่เป็นที่ต้องการของประชาชน เพราะพลังงานถ่านหิน ปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติเริ่มลดน้อยลงในทุกพื้นที่ทั่วโลก ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตทั่วโลกต้องหันมาใช้พลังงานโซลาร์เซลล์ทดแทนอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม อยากเตือนไปยังประชาชนให้ติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้เหมาะกับการใช้ เพราะหากติดตั้งมากเกินไปหากมีการผลิตไฟฟ้าเหลือภาครัฐก็จะไม่รับซื้อไฟฟ้ากลับคืน จะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณแบบไม่ได้ผลตอบแทน ซึ่งอยากฝากไปยังรัฐบาลให้พิจารณาเรื่องการรีบซื้อคืนและที่สำคัญควรให้ราคาที่เป็นธรรมด้วย

 

ธีระพงศ์ แสงลาภเจริญกิจ กรีนพีซ ประเทศไทย กล่าวถึงวิกฤตการเปลี่ยนแปลงภาวะภูมิอากาศที่ก่อให้เกิดวิกฤตด้านพลังงานว่า ถึงเวลาแล้วที่ทั่วโลกต้องเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงาน และหันมาให้ความสำคัญเรื่องการใช้พลังงานหมุนเวียน ผลการวิจัยของกรีนพีซ พบว่า การจ้างงานด้านพลังงานหมุนเวียนมีเพิ่มขึ้นในทุกปีสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น หากประเทศไทยเริ่มส่งเสริมการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ในสถานศึกษาแล้ว นอกจากจะช่วยประหยัดค่าไฟ

 

ที่มา: สภาองค์กรของผู้บริโภค

สงวนลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2566 มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา | Copyright © 2023, All rights reserved. Phayao Development Foundation (PDF), Thailand.